Smart City System


เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหาร จัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมือง และ ประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วม ของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน

“เมืองอัจฉริยะ” หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน

สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)

เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็น ระบบ

เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)

เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ และ บริหารจัดการ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น

พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)

เมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้าง ความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

1.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) หมายถึง เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็น ระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหาร จัดการของเสีย

การดูแลสภาพอากาศ

โดยทั่วไป การวัดปริมาณฝุ่นที่มีอยู่ในอากาศทั่วไปไม่ได้มีเพียงแค่ PM2.5 (ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีการวัดฝุ่นขนาดอื่นๆ เช่น PM10 (ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน) หรือ TSP (ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน) และในขณะนี้ต่างประเทศเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการวัดฝุ่น PM1 (ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน) ซึ่งขนาดฝุ่นเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ โดยขนาดฝุ่นละอองที่ต่างกันก็จะส่งผลกระทบกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจต่างกัน ยิ่งขนาดเล็กมากเท่าไหร่ ฝุ่นยิ่งเข้าไปได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น

เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากฝุ่นละออง ทางกรมควบคุมมลพิษจึงได้ออกมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ซึ่งกำหนดค่าไว้ดังนี้

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP)

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา 24 ชั่วโมง 1 ปี

ค่ามาตรฐาน

ไม่เกิน 0.33 มก./ลบ.ม.

ไม่เกิน 0.10 มก./ลบ.ม.


ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา 24 ชั่วโมง 1 ปี

ค่ามาตรฐาน

ไม่เกิน 0.12 มก./ลบ.ม

ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.ม


ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา 24 ชั่วโมง 1 ปี

ค่ามาตรฐาน

ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.ม.

ไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.

แชร์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จํากัด

ที่อยู่: 24 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์: 0-2519-8153

Email: sales@itthirittechnology.com

Facebook : Itthirit Technology - IoT, Industry 4.0, Monitoring System, RTU